HOME
เกี่ยวกับเรา
บทสรุปผู้บริหาร
บทสรุปผู้บริหาร IAID 63
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวจากสื่อ
VDO สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ
บทความ
บทความเทคนิคหรือคู่มือด้านการเกษตร
บทความกรณีศึกษา
วิธีการการใช้ IAID Application เบื้องต้น (สำหรับผู้ใช้บริการ)
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการหลัก 18 ราย
ผู้ประกอบการที่ Success Cases ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ผู้ให้บริการเครื่องจักร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีด้านการเกษตร
เตรียมแปลง
ดูแลรักษา
เก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว
ดูแลเครื่องจักร
เอกสารดาวน์โหลด
กระดานสนทนา
ติดต่อเรา
HOME
เกี่ยวกับเรา
บทสรุปผู้บริหาร
บทสรุปผู้บริหาร IAID 63
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวจากสื่อ
VDO สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ
บทความ
บทความเทคนิคหรือคู่มือด้านการเกษตร
บทความกรณีศึกษา
วิธีการการใช้ IAID Application เบื้องต้น (สำหรับผู้ใช้บริการ)
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการหลัก 18 ราย
ผู้ประกอบการที่ Success Cases ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ผู้ให้บริการเครื่องจักร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีด้านการเกษตร
เตรียมแปลง
ดูแลรักษา
เก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว
ดูแลเครื่องจักร
เอกสารดาวน์โหลด
กระดานสนทนา
ติดต่อเรา
“DIPROM Agro-Machinery Award 2022”
16 สิงหาคม 2022
3
Published by
เกรียงยุทธ
on
18 สิงหาคม 2022
Categories
ข่าวล่าสุด
Tags
จ.นนทบุรี 18 สิงหาคม 2565
–
ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลการใช้เทคโนโลยีการเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ 2565 และกล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้ประกอบการ เข้าร่วมพิธีดังกล่าว โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ เวทีกลาง อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด
ดีพร้อม (DIPROM)
เดินหน้าจัดประกวดการใช้เทคโนโลยีการเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ DIPROM Agro-Machinery Award 2022 อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยี การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้กลับคืนสู่ท้องถิ่นชุมชน รวมถึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นกว่า 40% ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนา “เครื่องจักรชุมชนดีพร้อม” ด้วยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะส่งผลงานเครื่องจักรและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าประกวด จำนวน 179 ทีม เช่น เครื่องกวนอัตโนมัติ ตู้อบ เครื่องอัดขึ้นรูป เครื่องบรรจุของเหลว เครื่องเกลาข้อหวายหรือลบข้อหวาย เครื่องสาวไหมอัตโนมัติ เครื่องควบคุมการตากแห้ง เครื่องแยกเนื้อมะม่วงสุก เครื่องซีลสายพานพร้อมระบบเติมไนโตรเจน เครื่องตรวจสอบน้ำหนักกึ่งอัตโนมัติ ระบบบำบัดควันและระบบแจ้งเตือนมลพิษ เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับเสียงตอบรับจากวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างดีและสอดคล้องตามความต้องการของผู้รับบริการส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพในการดำเนินธุรกิจเกษตรชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้กว่า 140 ล้านบาท
สำหรับการประกวดครั้งนี้ มีผู้ได้รับรางวัล ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ดังนี้
1. กลุ่มด้านเทคนิค
จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย
1) รางวัลชนะเลิศ 1 แบบอย่าง ได้แก่ เครื่องกวนอัตโนมัติ พร้อมระบบสายพานลำเลียง ทีมบริษัท เอสพีพี ดีไซน์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง 1 แบบอย่าง ได้แก่ เครื่องตรวจสอบน้ำหนักกึ่งอัตโนมัติ ทีมบริษัท เอ็น ทู เอ็ม เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด
3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง 1 แบบอย่าง ได้แก่ เครื่องกวนแยมอัตโนมัติ ทีมวิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
2. กลุ่มด้านการพัฒนาธุรกิจ
จำนวน 3 รางวัล ดังนี้
1) รางวัลชนะเลิศ 1 แบบอย่าง ได้แก่ เครื่องอัดปลาร้าก้อน ทีมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง 1 แบบอย่าง ได้แก่ ถังกวนเฉาก๊วย ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง 1 แบบอย่าง ได้แก่ เครื่องแยกเนื้อมะม่วงสุก ทีมบริษัท ฟอร์ซฟูล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
3. กลุ่มด้านวิชาการ
จำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย
1) รางวัลดีพร้อมแชร์ 1 แบบอย่าง ได้แก่ ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ 2 ระบบ สั่งงานแบบไร้สาย ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
2) รางวัลดีพร้อมเทค 1 แบบอย่าง ได้แก่ เครื่องอัดใบไม้ทำภาชนะ ทีมบริษัท ฟอร์ซฟูล คอร์ปอเรชั่น จำกัด