กิจกรรมเจรจาธุรกิจออนไลน์จาก SMRJ (องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น)
8 ธันวาคม 2020
ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการกลุ่ม OTOP หรือวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมัครเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
2 กุมภาพันธ์ 2021

บทสรุปผู้บริหาร

 

กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตร ภายใต้โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรระดับชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ได้รับมอบหมายจากกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตร นั้น ได้ดำเนินกิจกรรมสำเร็จลุล่วงสำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีผู้ให้บริการเครื่องจักรกลและ/หรือเทคโนโลยีการจัดการเกษตรอุตสาหกรรมเข้าร่วมกิจกรรม 18 ราย ข้อมูลผู้ให้บริการเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีการจัดการเกษตรอุตสาหกรรม ข้อมูลเกษตรกร/ผู้ใช้บริการและอื่น ๆ สามารถเผยแพร่ออนไลน์ได้อีกจำนวน 350 ราย จำนวนข้อมูลวิชาการทางด้านเทคนิค 21 เรื่อง จำนวนกรณีศึกษาที่ได้รับจากการลงพื้นที่ 10 เรื่อง จำนวนข้อมูลการจัดกิจกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการประชาสัมพันธ์กิจกรรม และสนับสนุนการขยายผลการพัฒนาเครือข่ายการให้บริการเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีการจัดการเกษตรอุตสาหกรรม 5 พื้นที่ครอบคลุมทั้ง ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จำนวนผู้รับบริการทั้งสิ้น 310 ราย ความพึงพอใจเฉลี่ยร้อยละ 89.25

รวมถึงการจัดการบูรณาการกับหน่วยงานภาคสนับสนุนในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายและโอกาสในการเชื่อมโยงทางธุรกิจให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการเครื่องจักรกลทางเกษตรสู่ห่วงโซ่อุปทาน โดยเพิ่มช่องทางการเลือกใช้เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีทางเกษตร ในรูปแบบของ Website :iaid.in.th และ Smart IAID Application แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง จำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากการจับคู่ธุรกิจ 102 คู่ และยังมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิจิตอลแพลตฟอร์ม การให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ การให้คำแนะนำแผนธุรกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจในยุคปัจจุบัน อีกด้วย

จากเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เกิดดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตร เช่น รถพ่นยา หรือ Boom Sprayer สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงถึง 443.16 ตัน ลดต้นทุนได้ 3.36 ล้านบาท ส่วนโดรนสามารถเพิ่มผลผลิตได้ประมาณ 8,335 ตัน ลดต้นทุนได้ 6.50 ล้านบาท กล่าวคือ จากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถลดแรงงานคนในการปลูกข้าวเฉลี่ย 35 คน/วัน หรือปลูกอ้อยเฉลี่ย 31 คน/วัน โดยในภาพรวมทั้งหมดคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึง 20.43 ล้านบาท/ปี

จากผลการดำเนินงานข้างต้น การดำเนินกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตร ในปี 2563 นี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาอย่างเข้มข้นบนหลักการทำงานแบบเครือข่าย ส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตร และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการรวบรวมข้อมูลความต้องการ สามารถค้นหาและเผยแพร่ข้อมูลได้ มีระบบการจัดการนัดหมายเพื่อลงทำงาน เก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อทำประวัติลูกค้า รู้ถึงรายได้จากการให้บริการโดยดูข้อมูลเป็นรายเดือนได้ และยังเช็คประวัติลูกค้าที่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิก ว่ามีประวัติการใช้บริการอย่างไร เพื่อการให้บริการต่อไป ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ ที่ผ่านมาสำเร็จได้ก็ด้วยความร่วมมือของกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ร่วมผลักดันและสนับสนุนให้โครงการประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผลสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ทุกประการ

 

คณะทำงาน
กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตร
ภายใต้โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรระดับชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทสรุปผู้บริหาร IAID 63 (256.6 KiB, 105 downloads)

Comments are closed.