วิศวกรรมกับการป้องกันและแก้ปัญหาดินดาน
1 กันยายน 2020
คลัสเตอร์เครื่องมือในการพัฒนาเกษตรกรรมไทย
2 กันยายน 2020

แพลตฟอร์มออนไลน์กลไกการลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร

 

นโยบาย Thailand 4.0 ที่รัฐผลักดันและขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาประเทศทำให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งเราได้เห็นกันเป็นรูปธรรมบ้างแล้วจาก ภาคการเงิน ภาคการขนส่ง อุตสาหกรรม หรือ SMEs แต่สำหรับภาคเกษตรนั้นหลายคนอาจจะยังไม่เห็นภาพว่าภาคเกษตรจะยืนอยู่ตรงไหนผลกระทบต่อการผลิตภาคการเกษตรอย่างไร
หากมองภาพของโลก ในหลายประเทศที่ขับเคลื่อนหรือพัฒนาเทคโนโลยีไปได้ก้าวหน้า เช่น อิสราเอลที่มุ่งเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมของทั้งโลก ในทุกด้าน ได้แก่ แพลตฟอร์มการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ การให้น้ำ การจัดการโรคและแมลง โดรนและหุ่นยนต์เกษตร การดูแลรักษาพืช จักรกลเกษตรอัจฉริยะ การเก็บเกี่ยว การจัดการตลาด ระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการจัดการของเสีย ระบบเลี้ยงปศุสัตว์อัจฉริยะ และระบบสมาร์ทฟาร์ม หรือในกลุ่มประเทศเพื่อบ้านเราอินโดนีเซีย สร้าง Start up ชื่อ i-Grow ที่ให้ผู้ใช้ลงทุนเพาะปลูกผ่านสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว หรืออีกแพลตฟอร์มหนึ่งชื่อ CI Agriculture ได้รวมการวิเคราะห์พื้นที่เพาะปลูกผ่านดาวเทียม Drone และเซ็นเซอร์ตรวจสอบความชื้นของดิน เพื่อให้ผลลัพธ์เกี่ยวกับสถานที่ว่าคุ้มค่าแก่การเพาะปลูกหรือไม่
หันกลับมามองภาพของประเทศไทยที่มีพื้นที่สำหรับการเกษตรประมาณ 43% คิดเป็นพื้นที่ประมาณ140 ล้านไร่ และรายได้ของภาคเกษตรคิดเป็น 10% ของ GDP โดยการผลิตภาคเกษตรกรรม หมายถึงการเพาะปลูก รวมไปถึงการประมง การเลี้ยงสัตว์ และการป่าไม้ด้วย แต่ 68% นั้นอยู่ที่การปลูกพืชและผลไม้ ประเทศเราเองกำหนดนิยามของเกษตรกรรม 4.0 ไปที่คำว่า Smart Farming ซึ่งหมายถึงการใช้นวัตกรรมในการเพาะปลูก การจัดการรวมไปถึงการตลาด โดยร่วมมือกับสถานบันการศึกษา สร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อควบคุมการผลิตให้ได้ตามที่ต้องการ และอีกคำที่เกี่ยวข้องและคุ้นหูคือ AgiTech ( Agriculture Technology) หรือเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ที่มาพร้อมเกษตรกรรม 4.0

ภาพจาก https://dairynow.ca/how-uavs-are-changing-the-future-of-agriculture/ [2]

ปัญหาสำคัญที่สำคัญในการพัฒนาการผลิตภาคเกษตรของเกษตรกรไทย คือเรื่องของการควบคุมต้นทุนการผลิต การเข้าถึงและการจัดการเทคโนโลยี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กองพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจและเกษตรกรในด้านเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีการจัดการเกษตรอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินกิจกรรม การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตร โดยมีเป้าหมายให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อยกระดับด้านการผลิตทางการเกษตรตลอดจนการขยายตลาดเครื่องจักรกลทางการเกษตรและการให้เช่าบริการเครื่องจักรกลการเกษตร
เพื่อให้กิจกรรมการเชื่อมโยงดังกล่าวตอบสนองวัตถุประสงค์จึงใด้สร้างเครื่องมือในลักษณะแพลตฟอร์มออนไลน์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการให้และรับบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร

Application IAID

แพลตฟอร์ม IAID Application พัฒนาขึ้นและดูแลโดยหน่วยงานรัฐโดยมีเป้าหมายคือ

1. ทำให้เกษตรกรเข้าถึงการใช้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรได้ง่ายขึ้น ลดต้นทุนการผลิดด้านเครื่องจักรกลและการบำรุงรักษา

2. เกษตรกรได้ทราบราคากลางการให้บริการเครืองจักรกลการเกษตร ทำให้มีข้อมูลเปรียบเทียบและสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการวางแผนการผลิตได้

3. ผู้ให้บริการในโครงการมีการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรในความถี่ที่สูงขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรอีกทางหนึ่ง

4. เป็นช่องทางในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มสหกรณ์การเกษตร เกี่ยวกับการให้บริการทางการเกษตร

บทความโดย
อ.ธีระพงษ์ ควรคำนวน ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ข้อมูลอ้างอิง
1. บทความออนไลน์ เข้าถึงจาก http://www.mitrpholmodernfarm.com/news?tags=Thailand%204.0
2. https://dairynow.ca/how-uavs-are-changing-the-future-of-agriculture/

แพลตฟอร์มออนไลน์กลไกการลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรction (140.7 KiB, 77 downloads)

Comments are closed.