ปรับพื้นที่นาจุดเริ่มต้นเกษตรแม่นยำ
1 กันยายน 2020
แพลตฟอร์มออนไลน์กลไกการลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
2 กันยายน 2020

วิศวกรรมกับการป้องกันและแก้ปัญหาดินดาน

ดินดานตามความหมายของกรมพัฒนาที่ดิน หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบ หรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคของดินมาจับตัวกันแน่นทึบ และแข็งเป็นแนวขนานกับหน้าดินที่ความลึกแตกต่างกันไปจนเป็นอุปสรรคต่อการซอนไซของรากพืช การไหลซึมของน้ำแลดินดานนั้นคือชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบและแข็ง จนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำ และการถ่ายเทอากาศ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช และปัจจุบันปัญหาดินดานเป็นอุปสรรคสำคัญในเพาะปลูกพืชเศรษญกิจไทยเช่น อ้อย มันสำปะหลัง

ในทางวิชาการการที่เราจะทราบว่าพื้นที่ใดมีสภาพเป็นดินดานจะใช้วิธีตรวจค่าความหนาแน่นรวมของดิน โดยที่ระดับความลึกประมาณ 40-50 เซนติเมตร ถ้ามีความหนาแน่นเกินกว่า 1.6 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่าบริเวณนั้นมีชั้นดินดาน หรืออาจตรวจสอบจากการสังเกต เวลาฝนตกลงมาถ้าเป็นพื้นที่ราบน้ำจะแช่ท่วมขังอยู่นาน เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในดินชั้นล่างได้ หรือเกิดการไหลบ่าบนผิวดินได้ง่ายในพื้นที่ลาดเอียง

ดินดานเกิดขึ้นได้อย่างไร

ก่อนอื่นเราต้องทราบสาเหตุของการเกิดดินดานเสียก่อน โดยดินดานนั้นเกิดขึ้นจาก 2 กรณี อาจเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการสะสมของดินเหนียวธรรมชาติ หรืออีกสาเหตุหนึ่งคือ เกิดจากการทำกิจกรรมทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม เช่นมีการไถพรวนที่ระดับความลึกเดิมซ้ำๆ  การใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ลงไปทำงานในแปลงเพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสมกับการบดอัดเนื่อดินให้แน่น กิจกรรมเหล่านี้เมื่อดำเนินการติดต่อกันเป็นเวลานาน และขาดการปรับปรุงบำรุงดิน ลักษณะนี้จะทำให้ดินเกิดสภาพดินดานโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ดินมีโครงสร้างที่เหมาะสมหรือมีศักยภาพสูงต่อการเกิดสภาพดินดาน

ผลของดินดานต่อการทำการเกษตร

ผลของดินดานจะทำให้พืชเจริญเติบโตผิดปกติ โดยพืชที่ปลูกในดินที่มีชั้นดานนั้นจะมีระบบรากตื้นๆ อยู่เหนือชั้นดาน ทำให้พืชดูดกินธาตุอาหารและน้ำได้น้อย เกิดการแคระแกรน เน่าเสีย ผลผลิตลดลง จึงต้องใช้ปุ๋ยมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตดี และเมื่อฝนทิ้งช่วงพืชก็จะเหี่ยวและตายเร็วกว่าปกติเนื่องจากขาดแคลนน้ำ  นอกจากนี้การที่ดินมีความแน่นทึบทำให้น้ำไม่สามารถซึมลงไปในดินได้ลึก เมื่อฝนตกหนักจึงเกิดการไหลบ่าชะล้างเอาผิวหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงและปุ๋ยออกไป ดินบริเวณที่เป็นดานหน้าดินจะอิ่มตัวได้ง่ายเมื่อฝนตกมากขึ้นการไหลบ่าก็มากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินมากขึ้น และทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดินตามมา

ปัญหาดินดานแก้หรือป้องกันอย่างไร

การแก้ปัญหาดินดานที่ได้ผลในปัจจุบันทำได้โดยการไถระเบิดดินดาน มีขั้นตอนคือ ไถเบิกดินดาน ด้วยไถสิ่ว(Ripper) โดยการไถ 2 แนว ตัดกันเป็นตารางหมากรุก จากนั้นไถด้วยผาล 3 เพื่อพลิกดินให้กลบวัชพืช ทิ้งไว้ 5-7 วัน และสุดท้ายคือไถพรวนด้วยผาล 7 หรือผาลพวง เพื่อย่อยดินและกลบรอยเบิกดินดาน ป้องกันการสูญเสียความชื้นจากใต้ดิน การไถระเบิดดินดานมีค่ายจ่ายสูงจึงอาจไถ 3-5 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของดินขาดการปรับปรุงบำรุงดิน

การไถระเบิดดินดาน

นอกจากการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแล้วอีกทางที่จะลดความถี่ในการไถระเบิดดินดานลงทำได้โดยจัดการกิจกรรมในแปลงเพาะปลูก โดยเฉพาะการนำเครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญ่เข้าทำงานควรให้มีการวิ่งในแปลงให้น้อยที่สุดซึ่งทำได้โดยการควบคุมแนวล้อวิ่งของเครื่องจักร และกำหนดแนวร่องปลูกให้ตรงกับระยะห่างของรถของเครื่องจักรทุกชนิดจะทำให้ไม่มีการบดอัดบนแถวปลูกและไม่ทำให้คันรอบๆ รากพืชแน่น ดินก็จะสามารถอุ้มน้ำและอากาศได้ดี การกำหนดแนวร่องปลูกปัจจุบันอาจใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นการควบคุม

บทความโดย

อ.ธีระพงษ์ ควรคำนวน ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ข้อมูลอ้างอิง

1.กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ข้อมูลการจัดการดิน, เข้าถึงจาก https://www.ldd.go.th/Web_Soil/compact.htm

วิศวกรรมกับการป้องกันและแก้ปัญหาดินดาน (125.2 KiB, 144 downloads)

Comments are closed.